เมนู

ส. อารมณ์ของราคะนั้นมีอยู่หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ถ้าอย่างนั้น ราคะก็เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ น่ะสิ.
อนุสยา อนารัมมณาติกถา จบ

อรรถกถาอนุสยา อนารัมมณาติกถา



ว่าด้วย อนุสัยเป็นธรรมไม่มีอารมณ์



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอนุสัยเป็นธรรมไม่มีอารมณ์. ในเรื่องนั้น ชน
เหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะ นิกายเอกัจจะ และนิกาย
อุตตราปถกะทั้งหลายว่า ชื่อว่า อนุสัยทั้งหลาย คือกิเลสที่นอนเนื่อง
อยู่ในสันดาน ไม่ประกอบกับจิตเป็นอเหตุกะ เป็นอัพยากตะ ด้วยเหตุ
นั้นแหละ คือด้วยเหตุที่ไม่ประกอบกับจิตเป็นต้น จึงเป็นอนารัมมณะ
ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า อนุสัย เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น
คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวกะปรวาทีนั้นว่า
อนุสัย เป็นรูป เป็นต้น เพื่อท้วงว่า ธรรมดาอนุสัยไม่มีอารมณ์ อนุสัย
นั้นก็จะพึงเป็นอย่างนี้ คือพึงเป็นอย่างรูปเป็นต้น. คำว่า กามราคะ
เป็นต้น ท่านแสดงโดยความเป็นกาม ราคานุสัยมิใช่เป็นอย่างอื่น. ใน
ปัญหาว่า สังขารขันธ์เป็นธรรมไม่มีอารมณ์หรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ
เพราะหมายเอาสังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต ย่อมตอบรับรองหมายเอา
อนุสัย ชีวิตินทรีย์ และรูปมีกายกรรมเป็นต้น ว่าเป็นธรรมนับเนื่องด้วย
สังขารขันธ์. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในวาระทั้งปวงโดยอุบายนี้แล.

อนึ่ง ในปัญหาว่า เป็นผู้มีอนุสัยหรือ อธิบายว่า ปุถุชนชื่อว่า
ยังเป็นผู้มีอนุสัย เพราะความที่เขายังมิได้ละ แต่สภาพความเป็นไปของ
อนุสัยทั้งหลาย คือความเกิดดับ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงบัญญัติไว้
จริงอยู่ อนุสัยใดอันบุคคลใดยังละไม่ได้ อนุสัยนั้นไม่นับว่าเป็นอดีต
อนาคตและปัจจุบัน ก็แต่ว่าอนุสัยนั้นชื่อว่าเป็นกิเลสที่พึงละด้วยมรรค
เพราะความเป็นผู้ยังละไม่ได้นั่นแหละ ท่านจึงกล่าวว่าเป็นของมีอยู่
ดังนี้.
อนึ่ง ใคร ๆ ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมชื่อนี้เป็นอารมณ์ของอนุสัยเห็นปานนี้
คือท่านหมายเอาเฉพาะขณะจิตที่เป็นกุศลหรืออัพยากตะซึ่งอนุสัยมิได้เกิด
สัมปยุตด้วย เพราะฉะนั้น อารมณ์ของอนุสัยนั้นท่านจึงปฏิเสธแล้ว.
อันที่จริง อารมณ์นั้น ๆ ย่อมไม่มีแก่อนุสัยอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
อารมณ์นั้น ๆ ย่อมไม่มีแก่กิเลสทั้งหลายแม้มีราคะเป็นต้นก็เช่นเดียวกัน
ตรงนี้ท่านหมายเอาขณะที่กิเลสเหล่านั้นยังไม่เกิดสัมปยุตกับจิต เพราะ
ฉะนั้น ข้อนี้จึงไม่สำเร็จซึ่งความที่อนุสัยทั้งหลายเป็นสภาพมีอารมณ์
ดังนี้แล.
อรรถกถาอนุสยาอนารัมมณาติกถา จบ

หมายเหตุ
การวินิจฉัยอนุสัยกถาในคัมภีร์กถาวัตถุนี้ ท่านหมายเอากิเลส
7 อย่าง มีกามราคานุสัยเป็นต้นที่ยังมิได้ละด้วยอริยมรรค อนุสัยกิเลส
นี้แหละขณะที่จิตเป็นกุศลก็ดี เป็นอัพยากตะก็ดี ท่านเรียกว่าเป็นจิตตวิปปยุต
เพราะไม่ประกอบจิตในขณะนั้น เรียกว่าอเหตุกะเพราะไม่มีเหตุประกอบ
ในขณะนั้น เรียกว่าเป็นอัพยากตะเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง

พยากรณ์ว่าเป็นบุญหรือเป็นบาปในขณะนั้น ด้วยเหตุทั้ง 3 นี้แหละ
ท่านจึงว่าเป็นอนารัมมณะ คือเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ดังนี้.
ส่วนนัยแห่งอรรถกถาอนุสัยยมก หน้า.......... ท่านแสดง ดังนี้ :-
อนุสยาติ เกนฏฺเฐน อนุสยา ฯ อนุสยนฏฺเฐน ฯลฯ
ถามว่า อนุสัยทั้งหลายชื่อว่า อนุสัย เพราะอรรถว่ากระไร ?
ตอบว่า เพราะอรรถว่านอนเนื่อง.
ถามว่า ชื่อว่า อรรถว่าการนอนเนื่องนี้เป็นอย่างไร ?
ตอบว่า ชื่อว่า อรรถว่าการนอนเนื่องนี้มีการละไม่ได้เป็นอรรถ
อธิบายว่า อนุสัยเหล่านั้น ชื่อว่าย่อมนอนเนื่องในสันดานแห่งสัตว์ เพราะ
อรรถว่ายังละไม่ได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า อนุสัย.
คำว่า ย่อมนอนเนื่อง อธิบายว่า อนุสัยเหล่านั้นได้เหตุอันสมควร
แล้วจึงเกิดขึ้น. อีกอย่างหนึ่งอธิบายว่า ถ้าว่า อาการคือการละยังไม่ได้
พึงชื่อว่าเป็นอรรถแห่งการนอนเนื่องไซร้ ก็ไม่ควรกล่าวว่า อาการคือ
การละไม่ได้ย่อมเกิดขึ้น เพราะอนุสัยทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น ดังนี้. ใน
ที่นี้ท่านรับรองว่า อนุสัย คืออาการที่ละไม่ได้. อนึ่ง คำว่า อนุสัย ท่าน
เรียกกิเลสที่มีกำลังเพราะอรรถว่าละไม่ได้. อธิบายว่า อนุสัยนั้นเป็น
จิตตสัมปยุต เป็นสารัมมณะ เป็นสเหตุกะเพราะอรรถว่ามีปัจจัยเป็น
อกุศลอย่างเดียว ทั้งเป็นอดีตบ้าง เป็นอนาคตบ้าง เป็นปัจจุบันบ้าง เพราะ
ฉะนั้น การกล่าวว่าอนุสัยย่อมเกิดขึ้น ดังนี้ ย่อมควร. ในที่นี้ ท่านถือเอา
คำที่กล่าวมานี้เป็นประมาณ. ในคัมภีร์ยมกนี้มีการท้าวความถึงคัมภีร์
กถาวัตถุและคัมภีร์อื่น ๆ ด้วย เช่นกล่าวว่า :-
ในอภิธรรมกถาวัตถุก่อน ท่านปฏิเสธวาทะทั้งปวงว่า อนุสัย

ทั้งหลายเป็นอัพยากตะ เป็นอเหตุกะ และเป็นจิตตวิปปยุต หมายถึง
ขณะนั้นจิตกำลังเป็นกุศลหรืออัพยากตะ.
ในปฏิสัมภิทามรรค ท่านทำคำถามว่า บุคคลย่อมละกิเลสทั้งหลาย
แม้อันเป็นปัจจุบันหรือ ดังนี้ แล้วตอบว่า บุคคลชื่อว่าย่อมละอนุสัยอันมี
กำลังเพราะความที่อนุสัยทั้งหลายเป็นสภาพมีอยู่แก่ความเป็นปัจจุบัน.
ในธรรมสังคหะ ในการจำแนกบทโมหะ ท่านกล่าวความเกิดขึ้น
แห่งอวิชชานุสัยกับอกสลจิตว่า อวิชชานุสัย ได้แก่ อนุสัยคืออวิชชา อวิชชา-
ปริยุฏฐาน ได้แก่ ปริยุฏฐานคืออวิชชา อวิชชาลังคิ ได้แก่ ลิ่มคืออวิชชา
อกุสลมูล คือโมหะนี้มี ณ สมัยใด สมัยนั้น โมหะย่อมมี ดังนี้.
ในอนุสัยยมกนี้นั่นแหละ ในอุปปัชชวาระ คือวาระว่าด้วยการเกิดขึ้น
วาระใดวาระหนึ่งแห่งมหาวาระ 7 ท่านกล่าวคำเป็นต้นไว้ว่า กามราคา-
นุสัยย่อมเกิดแก่บุคคลใด ปฏิฆานุสัยก็ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม ดังนี้
เพราะฉะนั้น คำใดที่ท่านกล่าวแล้วว่า ย่อมนอนเนื่อง คำนั้น อธิบายว่า
อนุสัยทั้งหลายเหล่านั้นได้เหตุอันสมควรแล้วย่อมเกิดขึ้น ดังนี้ บัณฑิต
พึงทราบว่า คำนั้นท่านกล่าวดีแล้วโดยแบบแผนนี้เป็นประมาณ. คำแม้ใด
ที่ท่านกล่าวไว้เป็นต้นว่า อนุสัยเป็นจิตตสัมปยุต เป็นสารัมมณะ ดังนี้
แม้คำนั้นก็ชื่อว่าท่านกล่าวดีแล้วนั่นแหละ. คำว่า ก็ชื่อว่า อนุสัยเป็น
ของสำเร็จแล้ว เป็นจิตตสัมปุต เป็นอกุสลธรรม ดังนี้ พึงถึงความสิ้นสุด
กันในที่นี้แล.
อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในคำทั้งหลาย มีกามราคานุสัย เป็นต้นว่า
กามราคะนั้นแหละชื่อว่าอนุสัยเพราะอรรถว่ายังละไม่ได้ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า กามราคานุสัย. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้นั่นแหละ. ต่อไป

ท่านยังได้บ่งชัดลงไปอีกว่า อนุสัยเกิดที่ไหนบ้าง ดังคำว่า.
บัดนี้ เพื่อประการซึ่งที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งอนุสัยทั้งหลายนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ตตฺถ กามราคานุสโย อนุเสติ เป็นต้น
แปลว่า กามราคานุสัยย่อมนอนเนื่องในกามธาตุนั้น ขอท่านผู้รู้ค้นคว้า
ในอนุสัยยมกนั้นเถิด.
สรุปความว่า คำว่า อนุสัยที่กล่าวไว้ในคัมภีร์กถาวัตถุนั้นมีความ
มุ่งหมายเอาอย่างหนึ่ง ที่กล่าวในคัมภีร์อนุสัยยมกนั้นมุ่งหมายเอาอย่างหนึ่ง
นัยทั้ง 2 นี้เมื่อพิจารณาแล้วก็ถูกต้องด้วยกัน.

ญาณัง อนารัมมณันติกถา



[1338] สกวาที ญาณ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นไป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็น
โผฏฐัพพายตนะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ญาณ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ สัมมาทิฏฐิ ธัมม-
วิจยสัมโพชฌงค์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ สัมมาทิฏฐิ ธัมม-
วิจยสัมโพชฌงค์ เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ญาณ เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1339] ส. ญาณเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. นับเนื่องในขันธ์ไหน ?
ป. นับเนื่องในสังขารขันธ์.
ส. สังขารขันธ์เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ